ความเป็นมาและหลักการจัดตั้งศูนย์อาชีวศึกษาทวิภาคีเขตพื้นที่

1. ตามพระราชบัญญัติการอาชีวศึกษา พ.ศ. 2551 มาตรา 8 กล่าวว่า
การจัดการอาชีวศึกษา และการฝึกอบรมวิชาชีพให้จัดได้ 3 รูปแบบ คือการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบและการศึกษาระบบทวิภาคี เพื่อประโยชน์ในการผลิตและพัฒนากําลังคน สถานศึกษาอาชีวศึกษาหรือสถาบันการอาชีวศึกษาสามารถจัดการศึกษาในหลายรูปแบบรวมกันก็ได้ ทั้งนี้มุ่งเน้นการจัดการศึกษาระบบทวิภาคีเป็นสําคัญ
2. การวางแผนความร่วมมือ จัดทำฐานข้อมูลกำลังคน การดูแล อำนวยความสะดวก และสวัสดิการของผู้เรียนระบบทวิภาคีในเขตพื้นที่

วัตถุประสงค์การจัดตั้งศูนย์อาชีวศึกษาทวิภาคีเขตพื้นที่

1. เพื่อส่งเสริม สนับสนุนความร่วมมือกับสถานประกอบการ รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานของรัฐในการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี
2. เพื่อผลิตและพัฒนากำลังคนให้มีคุณภาพทั้งทักษะความสามารถ และคุณธรรม จริยธรรม
3. เพื่อส่งเสริม สนับสนุนการพัฒนาการจัดอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี
4. เพื่อยกระดับคุณภาพกำลังคนในกลุ่มผู้สำเร็จการศึกษาอาชีวศึกษา และผู้อยู่ในภาคกำลังคนให้มีสมรรถนะสูงขึ้น

ศูนย์อาชีวศึกษาทวิภาคีเขตพื้นที่ มีหน้าที่และความรับผิดชอบ

1. ส่งเสริม สนับสนุน สร้างความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีให้กับสถานประกอบการในเขตพื้นที่รับผิดชอบ
2. สำรวจข้อมูลความต้องการรับนักเรียน นักศึกษา เข้าฝึกงานและฝึกอาชีพของสถานประกอบการในพื้นที่รับผิดชอบ เพื่อเผยแพร่ให้กับสถานศึกษาในเครือข่าย
3. จัดทำแผนพัฒนาการดำเนินงานของศูนย์อาชีวศึกษาทวิภาคีเขตพื้นที่
4. จัดรูปแบบบริหารงานภายในศูนย์อาชีวศึกษาทวิภาคีเขตพื้นที่
5. นิเทศการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีให้เป็นไปตามนโยบาย กฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง
6. จัดเตรียมความพร้อมส่งเสริมและจัดกิจกรรมก่อน ระหว่างและหลังฝึกงานและฝึกอาชีพของนักเรียน นักศึกษาต่างเขตพื้นที่รับผิดชอบ
7. จัดทำแนวทางการทำงาน ให้คำปรึกษา ช่วยเหลือ แก้ไขปัญหาและอำนวยความสะดวกแก่นักเรียน นักศึกษาที่มาฝึกงาน และฝึกอาชีพ
8. สร้างความตระหนัก และความเข้าใจ เกี่ยวกับความปลอดภัยในการฝึกงาน และฝึกอาชีพ ทั้งในสถานศึกษาและในสถานประกอบการ
9. ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ได้รับมอบหมาย